เมนู

ภิกษุผู้ปฏิบัติไม่ดีในพระอภิธรรม แล่นเกินไปซึ่งการวิจารณ์ธรรม
ย่อมคิดแม้ซึ่งเรื่องที่ไม่ควรคิด ย่อมถึงความฟุ้งซ่านแห่งจิต เพราะคิดซึ่งเรื่อง
ที่ไม่ควรคิดนั้น. ข้อนี้ต้องด้วยพระพุทธพจน์ที่ตรัสไว้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย !
บุคคลคิดอยู่เรื่องที่ไม่ควรคิดเหล่าใด พึงเป็นผู้มีส่วนแห่งความเป็นบ้า
แห่งความลำบากใจ เรื่องที่ไม่ควรคิดเหล่านี้ 4 ประการ อันบุคคลไม่ควรคิด*
ดังนี้. ภิกษุผู้ปฏิบัติไม่ดีในปิฎก 3 เหล่านี้ ย่อมถึงความวิบัติต่างด้วยความเป็น
ผู้ทุศีล ความเป็นผู้มีทิฏฐิผิดและความฟุ้งซ่านแห่งจิตนี้ ตามลำดับ ด้วยประการ
ฉะนี้.
ถึงพระคาถาแม้นี้ว่า
ภิกษุย่อมถึงซึ่งความต่างแห่งปริยัติ
ก็ดี สมบัติและวิบัติก็ดี อันใด ในปิฎกใดมี
วินัยปิฎกเป็นต้น โดยประการใด บัณฑิต
พึงประกาศความต่างแห่งปริยัติเป็นต้น แม้-
นั้นทั้งหมดโดยประการนั้น ดังนี้

เป็นอันข้าพเจ้าขยายความแล้วด้วยคำเพียงเท่านี้. บัณฑิตครั้นทราบ
ปิฎกโดยประการต่าง ๆ อย่างนั้นแล้ว ก็ควรทราบพระพุทธพจน์นั้นว่า มี 3
อย่างด้วยอำนาจแห่งปิฎกเหล่านั้น.

[พระพุทธพจน์มี 5 นิกาย]


พระพุทธพจน์มี 5 ด้วยอำนาจแห่งนิกาย อย่างไร ? จริงอยู่
พระพุทธพจน์นั้นทั้งหมดนั่นแล ย่อมมี 5 ประเภท คือ ทีฑนิกาย มัชฌิมนิกาย
สังยุตตนิกาย อังคุตตรนิกาย (และ) ขุททกนิกาย
* องฺ. จตุกฺก. 21/104.